ชุดเหรียญ พระพุทธมหามงคล

          พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพ ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีชวด จุลศักราช ๑๑๖๖ ตรงกับวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗  เมื่อทรงพระเยาว์ได้ศึกษาอักขรวิธีในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) วัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) ครั้นพระชนมายุได้ ๙ พรรษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระราชทานพิธีลงสรงเฉลิมพระนามเจ้าฟ้าตามตำราเดิมขึ้นเป็นครั้งแรก มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทวาวงศ์ พงศ์อิศรกษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร”

          เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชเมื่อ ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗ แล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) แต่หลังจากทรงผนวชเพียง ๑๕ วัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมชนกนาถได้เสด็จสวรรคต กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นรัชกาลที่ ๓ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ จึงเสด็จอยู่ในสมณเพศตลอดมาเป็นโอกาสให้ได้ศึกษาพระไตรปิฎก และวิทยาการของทางทวีปยุโรป มีความสัมพันธ์กับชาวต่างประเทศมากขึ้น จนสามารถแก้วิกฤติทางการเมืองที่กำลังจะเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติหลังจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๓

**********************************

วัตถุประสงค์การจัดสร้าง

          ท่านผู้หญิงบุตรี  วีระไวทยะ สมาชิกราชสกุลสาย รัชกาลที่ ๔ จึงดำริที่จะตั้งมูลนิธิเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้จัดสร้าง เหรียญพระสัมพุทธพรรณี เหรียญพระนิรันตราย และเหรียญพระสยามเทวาธิราช  และทางวัดบวรนิเวศวิหาร ก็ได้อนุญาติให้จัดสร้าง เหรียญพระไพรีพินาศ เพื่อสมนาคุณสำหรับผู้ร่วมบริจาคทรัพย์ ไว้เป็นที่ระลึก

         พระสัมพุทธพรรณี เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ครั้นทรงผนวชโปรดให้ขุนอินทรพินิจ เจ้ากรมช่างหล่อ จัดการหล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๓  ขณะเสด็จประทับอยู่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) ขนาดหน้าตักกว้างศอกเศษ มีลักษณะตามที่ได้ทรงสอบสวนใหม่ว่าพระพุทธรูปไม่ควรมีพระเกตุมาลา จึงโปรดให้สร้างตามมตินั้น ทั้งทำอุตราสงค์จีบเป็นริ้วเลียนแบบริ้วผ้าตามธรรมชาติเหมือนอย่างการครองผ้าของพระธรรมยุติกนิกาย หล่อด้วยโลหะกะไหล่ทอง ทรงบรรจุดวงพระชนมพรรษาและพระสุพรรณบัฎเดิม ต่อมาปี พ.ศ.๒๓๗๔  ได้พบพระบรมสารีริกธาตุที่เสด็จมาเอง ๒ องค์ ในหอพระที่ตำหนักวัดมหาธาตุ จึงได้ทรงบรรจุไว้ในพระสัมพุทธพรรณีองค์ ๑  ได้ทรงนมัสการมาโดยตลอดจนเมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกด้วย

          ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ (หม่อมเจ้าดิศ  ในกรมหมื่นณรงค์หริรักษ์) แก้ไขแบบพระพุทธรูปให้มีพระรัศมีเป็น ๔ อย่าง คือ กะไหล่ทอง, กะไหล่นาก, แก้วขาว และแก้วน้ำเงิน  เพื่อเปลี่ยนตามฤดูกาล กะไหล่นากหรือแก้วขาวสำหรับฤดูหนาว และแก้วสีน้ำเงินสำหรับฤดูฝน กำหนดการเปลี่ยนพระรัศมีพระสัมพุทธพรรณีคราวเดียวกับเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เพราะในปัจจุบันพระสัมพุทธพรรณีประดิษฐานบนฐานชุกชีหน้าพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

**********************************

        พระพุทธรูปสำคัญอีกองค์หนึ่งของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็คือ “พระนิรันตราย” ตามประวัติว่าเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๙  กำนันอินอยู่เมืองปราจิณบุรีฝันว่าจับช้างเผือกได้ แล้วไปขุดมันนกกับนายยังบุตรชายที่ชายป่าห่างดงศรีมหาโพธิ ประมาณ ๓ เส้น  ได้พบพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำเนื้อหก น้ำหนัก ๘ ตำลึง จึงนำมามอบให้พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ์ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งได้พาเข้ามานำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ทรงพระกรุณาโปรดฯ ว่าสองคนพ่อลูกมีกตัญญูต่อพระพุทธศาสนา และพระเจ้าแผ่นดิน ขุดได้พระทองคำแล้วไม่ทำลายซื้อขายเป็นประโยชน์ส่วนตัว แล้วยังมีน้ำใจนมาทูลเกล้าฯ ถวาย จึงทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานรางวัลเป็นเงินตรา ๘ ชั่ง และให้เจ้าพนักงานเชิญพระพุทธรูปไปเก็บไว้ ณ หอเสถียรธรรมปริตกับพระกริ่งทองคำองค์น้อย

          ต่อมา พ.ศ. ๒๔๐๓  มีผู้ร้ายลักพระกริ่งองค์น้อยซึ่งอยู่คู่กับพระทองคำองค์นั้นไป จึงมีพระราชดำริว่าพระพุทธรูปซึ่งกำนันอินทูลเกล้าฯ ถวายนั้นเป็นทองคำทั้งแท่งใหญ่กว่าพระกริ่งควรที่คนร้ายจะลักองค์ใหญ่ไปแต่กลับละไว้ เช่นเดียวกับผู้ที่ขุดได้ไม่ทำอันตรายเป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่แคล้วคลาดถึง ๒ ครั้ง จึงทรงถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นั้นว่า “พระนิรันตราย” แล้วทรงพระราชดำริแบบอย่างให้เจ้าพนักงานหล่อพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชรหน้าตักกว้าง ๕ นิ้วครึ่ง  ด้วยทองคำสวมพระพุทธรูปนิรันตรายองค์นั้นอีกชั้นหนึ่ง และหล่อด้วยเงินบริสุทธิ์ อีกองค์หนึ่งเป็นคู่กัน ครั้นเมื่อพระสงฆ์ฝ่ายคณะธรรมยุติมีหลายพระอารามมากขึ้น มีพระราชดำริว่าควรมีสิ่งสำคัญสำหรับเป็นที่ระลึก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างหล่อพระพุทธรูปพิมพ์เดียวกันกับพระพุทธรูปทองเงินซึ่งสวมพระนิรันตรายโดยหล่อด้วยทองเหลือง มีเรือนแก้วเป็นพุ่มพระมหาโพธิมีอักษรขอมจำหลักลงในวงกลีบบัว เบื้องหน้า ๙  เบื้องหลัง ๙  พระคุณนามแสดงพระพุทธคุณตั้งแต่อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธจนถึงภควา ยอดเรือนแก้วมีรูปพระมหามงกุฎตั้งติดอยู่กับฐานชั้นล่างรองฐานพระซึ่งเป็นที่สำหรับน้ำสรงพระ มีท่อเป็นรูปศีรษะโคเป็นที่หมายถึงพระโคตรซึ่งเป็นโคตมะ โปรดให้หล่อเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ จำนวน ๑๘ พระองค์ เท่ากับจำนวนปีที่เสด็จอยู่ในสิริราชสมบัติและจะทรงหล่อต่อไปปีละองค์พร้อมกับเฉลิมพระชนมพรรษา แต่พระพุทธรูปนั้นยังหาได้กะไหล่ทองไม่ เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างใช้กะไหล่ทองคำทั้ง ๑๘ องค์ พระราชททานไปตามวัดคณะธรรมยุติกนิกายตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วทรงสร้างพระราชทานเพิ่มวัดละองค์ต่อมา

**********************************

          ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา เมืองไทยเคยเสียอิสรภาพ ๒ ครั้ง เพราะคนไทยแตกสามัคคี ครั้งแรกสมเด็จพระนเรศวมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชไว้ได้ด้วยการทำยุทธหัตถี ครั้งหลังสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกู้กลับคืนมาได้ภายใน ๘ เดือน ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มหาอำนาจทางตะวันตกก็พยายามหาทางที่จะใช้กำลังบังคับให้อยู่ในอำนาจ แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบถึงภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากมหาอำนาจเหล่านี้ จึงได้พยายามผูกมิตรกับประเทศมหาอำนาจ เป็นผลให้เมืองไทยพ้นภัยมาได้

          การที่เมืองไทยมีเหตุการณ์เกือบจะต้องเสียอิสรภาพมาหลายต่อหลายครั้ง แล้วเผอิญให้รอดพ้นมาได้ทุกครั้ง เป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่าเมืองไทยเรานี้ซะรอยจะมีเทพยาดาองค์ใดองค์หนึ่ง คอยพิทักษ์รักษาอยู่ สมควรจะทำรูปเทพพระองค์นั้นขึ้นไว้สักการะบูชา จึงโปรดให้พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ (หม่อมเจ้าดิศ ในกรมหมื่นณงค์หริรักษ์) นายช่างเอกปั้นรูปเทพพระองค์นั้นเป็นรูปทรงเครื่องต้น ยืนถือพระขรรค์ในพระหัตถ์ขวาสูง ๘ นิ้วฟุต  หล่อด้วยทองคำแท่งทั้งพระองค์ ถวายพระนามว่า “พระสยามเทวาธิราช” แล้วประดิษฐานไว้ ณ พระวิมานกลางพระที่นั่งไพศาลทักษิณ โปรดให้จัดเครื่องสังเวยทุกๆ วัน เป็นที่นับถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมาเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเชื่อในอภินิหารของพระสยามเทวาธิราช จึงโปรดให้มีการสังเวยตลอดมา

**********************************

          นับแต่สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชเป็นต้นมา ได้มีผู้ไม่หวังดีกลั่นแกล้งต่างๆ นานา โดยเจตนาจะไม่ให้ได้รับราชสมบัติ ที่เห็นชัดก็คือ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยใกล้จะเสด็จสวรรคตมีผู้ไปทูลอ้างรับสั่งให้ไปเฝ้า เมื่อเสด็จไปก็ถูกกักบริเวณให้อยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ถึง ๗ วัน ผู้ที่ต้องสงสัยวาเป็นคนวางแผน ก็คือ กรมหลวงรักษ์รณเรศ ซึ่งทำตัวเป็นหัวเรือใหญ่ กีดกันไม่ให้สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ได้ราชสมบัติ ท่านผู้นี้เคยแกล้งพระธรรมยุติที่เข้าไปรับบาตรในวัง โดยแกล้งเอาข้าวต้มร้อนๆ ใส่บาตร บาตรเหล็กถูกของร้อนก็ร้อนไปด้วย พระทนความร้อนไม่ได้ก็ต้องโยนบาตรทิ้ง และกรมหลวงรักษ์รณเรศเป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูง จนถึงคิดจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินเสียเองถ้ารัชกาลที่ ๓ สวรรคต ทั้งยังเคยเจรจามั่นหมายไว้ว่า ถ้ามีวาสนาใหญ่โตจะมีสิทธิ์ขาดในแผ่นดินแล้ว ก็จะทำลายล้างสิ่งที่สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทำไว้จนหมดสิ้น

          เผอิญมีผู้ทำฎีกากล่าวโทษกรมหลวงรักษ์รณเรศด้วยข้อหาร้ายแรงหลายเรื่อง โปรดให้ชำระมีความผิดฉกรรจ์ จึงโปรดให้ลงพระราชอาชญาแล้วให้สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๙๑ กล่าวกันว่าในเวลาใกล้เคียงกับที่กรมหลวงรักษ์รณเรศถูกสำเร็จโทษนั้นมีคนอัญเชิญพระพุทธรูปศิลาแบบมหายาน ปางนั่งประทานอภัย มาถวายสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ที่วัดบวรนิเวศวิหาร จึงโปรดถวายพระนามว่า “พระไพรีพินาศ” เป็นนิมิตหมายว่าหมดศัตรูแล้ว ต่อมาเมื่อเสวยราชสมบัติได้ประมาณ ๒ ปี คือ พ.ศ. ๒๓๙๖  ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล “ผ่องพ้นไพรี” เนื่องจากทรงหลุดพ้นจากการเบียดเบียนของศัตรูเป็นงานใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ด้วยเหตุนี้จึงนับถือกันว่า “พระไพรีพินาศ” เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อาจบันดาลให้ศัตรูพ่ายแพ้ไปในที่สุด

**********************************

         “พระยันต์อริยสัจจ์โสฬสมงคล” (ด้านหลังเหรียญทั้ง ๔) เป็นครั้งแรก ที่บรรจุทั้งพระคาถาและตัวเลข รวมอยู่ในพระยันต์เดียวกัน พระคาถา “ตะโยธะภาณาคะติเสยยาเญยยา โลกะขะยะปะทังระโถ ภายะปะโย” นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ พระคาถาที่บรรจุอยู่ในพระมหาเจดีย์ที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงสร้างไว้ภายหลังโบราณจารย์ได้ถอดพระคาถาดังกล่าว ออกเป็นเลขปรากฏเป็น “ยันต์โสฬสมงคล” เมื่อรวมกับพระคาถา “อริยสัจจ์” ข้างต้นจึงเรียกว่า “พระยันต์อริยสัจจ์โสฬสมงคล” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนับถือมากได้นำมาจารึกไว้ที่ฐานพระชัยวัฒน์ประจำพระองค์ และโบราณาจารย์นับถือว่า เป็นยันต์ที่มีคุณานุภาพ นิยมลงผ้าขาว ผ้าแดง ผูกไว้หัวเสาเมื่อปลูกเรือนกันฟ้ากันไฟ ป้องกันภัยพิบัติ อุปัทวันตราย ลงตระกรุดทางอยู่ยงคงกระพันและเมตตา เกิดโภคทรัพย์ลาภผล ซื้อง่ายขายคล่อง ทั้งคุ้มครองป้องกันทุกข์ภัยให้อยู่เย็นเป็นสุข ถือเป็นสุดยอดมหายันต์ที่ศักดิ์สิทธิ์

**********************************

**************************
ขนาดธรรมดา : เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 ซ.ม.

**************************
เหรียญเนื้อเงิน
บริจาคบูชาเหรียญละ : 2,000 บาท
(พระสยามเทวาทิราช หมดแล้ว)

**************************
เหรียญเนื้อทองแดง
พระสยามเทวาธิราช
บริจาคบูชาเหรียญละ : 500 บาท

**************************

เหรียญเนื้อทองแดง
พระสัมพุทธพรรณี  :  พระไพรีพินาศ  :  พระนิรันตราย
บริจาคบูชาเหรียญละ : 300 บาท

**************************

หากท่านเช่าบูชาครบทั่ง 4 เหรียญ 1 ชุด
บริจาคบูชาในราคา : 1,300 บาท
** ค่าจัดส่งทางไปรษณีย์ Ems : 50 บาท จำนวน 1 – 2 ชุด **
** ค่าจัดส่งทางไปรษณีย์ Ems : 60 บาท จำนวน 3 ชุด **
** ค่าจัดส่งทางไปรษณีย์ Ems : 100 บาท จำนวน 4 – 5 ชุด **
เกิน 5 ชุดทางเราไม่จัดส่งนะครับ เพื่อความปลอดภัย

***********************************************

โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์สาขาเทเวศร์
ชื่อบัญชี “มูลนิธิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์”
เลขที่บัญชี  020 -272542-2 
และโอนเงินผ่านทาง E-Banking
ท่านสามารถส่งหลักฐานการโอนเงินมาได้ทาง
“กล่องข้อความ (Messenger)” ที่ Facebook
พร้อมเขียน ชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อมาด้วย

**************************

หรือส่งสำเนาใบโอนเงินพร้อมชื่อ – นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์และรายการ
ที่ต้องการสั่งบูชาให้ชัดเจน  โดยส่งทางโทรสารมาที่หมายเลข 0-2280-1375

*********************************************************

ชุดเหรียญทองแดงใหญ่ รมดำ

เส้นผ่าศูนย์กลาง ๗ ซ.ม. มีหมายเลขกำกับ
เหรียญเนื้อทองแดงใหญ่ รมดำพ่นทราย  มี ๓ เหรียญ ได้แก่
พระสัมพุทธพรรณี  :  พระไพรีพินาศ  :  พระนิรันตราย

 

เหรียญทองแดงใหญ่  ขัดเงา

ด้านหน้าเป็นพระสยามเทวาธิราช  ด้านหลังเป็นพระสัมพุทธพรรณี

**************************

ขนาดพิเศษ  เส้นผ่าศูนย์กลาง ๗ ซ.ม. มีหมายเลขกำกับ
เหรียญเนื้อทองแดงใหญ่ รมดำพ่นทราย มี ๓ เหรียญ ได้แก่
พระสัมพุทธพรรณี  :  พระไพรีพินาศ  :  พระนิรันตราย

และ เหรียญด้านหน้าเป็นพระสยามเทวาธิราช
ด้านหลังเป็นพระสัมพุทธพรรณี

บริจาคบูชาเหรียญละ    3,000   บาท
(พระสยามเทวาทิราช หมดแล้ว)

**************************************************

โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์สาขาเทเวศร์
ชื่อบัญชี “มูลนิธิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์”
เลขที่บัญชี  020 -272542-2 
และโอนเงินผ่านทาง E-Banking
ท่านสามารถส่งหลักฐานการโอนเงินมาได้ทาง
“กล่องข้อความ (Messenger)” ที่ Facebook
พร้อมเขียน ชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อมาด้วย

**************************

หรือส่งสำเนาใบโอนเงินพร้อมชื่อ – นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์และรายการ
ที่ต้องการสั่งบูชาให้ชัดเจน  โดยส่งทางโทรสารมาที่หมายเลข 0-2280-1375

**************************************************

Add Comment