๒๐ มีนาคม (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๕๒

        พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง เกิดเมื่อ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะโรง จุลศักราช ๑๐๙๘ ตรงกับวันพุธที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๙ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนที่ ๔ ของหลวงพินิจอักษร (ทองดี) กับ นางดาวเรือง (หยก) มีพี่น้องดังนี้คนที่ ๑ เป็นหญิงชื่อ สา ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอ กรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี

คนที่ ๒ เป็นชายชื่อ ขุนรามณรงค์ ถึงแก่กรรมก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒
คนที่ ๓ เป็นหญิงชื่อ แก้ว ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอ กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์
คนที่ ๔ เป็นชายชื่อ ทองด้วง (รัชกาลที่ ๑)
คนที่ ๕ เป็นชายชื่อ บุญมา (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท

เมื่อเจริญวัยได้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในสมัยสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิจ (ขุนหลวงดอกมะเดื่อ)

– พ.ศ. ๒๓๐๐ อายุ ๒๑ ปีได้บวช ณ วัดมหาทลาย เมื่อลาสิกขาบทแล้วกลับเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวง

– พ.ศ. ๒๓๐๓ อายุ ๒๔ ปี ได้สมรสกับคุณนาก ธิดาของคหบดีตำบลอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม

– พ.ศ. ๒๓๐๔ อายุ ๒๕ ปีในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาสอมรินทร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี

– พ.ศ. ๒๓๑๑ ในสมัยพระเจ้าตากสิน ได้รับราชการมีฐานันดรศักดิ์เป็น พระราชวรินทร์ (กรมพระตำรวจหลวง) เมื่อเสร็จศึกในการปราบชุมนุมพิมาย ได้เลื่อนขึ้นเป็น พระยาอภัยรณฤทธิ์

– พ.ศ. ๒๓๑๓ เมื่อครั้งปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง มีความชอบได้เป็นพระยายมราช และทำหน้าที่สมุหนายกอีกด้วย

– พ.ศ. ๒๓๑๔ ได้เลื่อนขึ้นเป็น เจ้าพระยาจักรี คุมทัพไปรบกับพม่าเสร็จศึกพม่าแล้ว ได้ยกทัพไปตีเขมรมาเป็นเมืองขึ้น

– พ.ศ. ๒๓๑๙ เป็นแม่ทัพไปตีเขมรป่าดง (สุรินทร์ ขุขันธ์ สังขะ) แคว้นลาวทางใต้ ได้เมืองจำปาศักดิ์ สีทันดร อัตตะปือ เสร็จศึกได้เลื่อนขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิลึกมหมา ทุกนัคราระอาเดช นเรศรราช สุริยวงศ์ องค์อัครบาทมุลิกากร บวรรัตนปรินายก

– พ.ศ. ๒๓๒๔ ยกทัพไปปราบจลาจลในเขมรแต่ไม่สำเร็จเพราะเกิดกบฏในกรุงธนบุรีต้องยกทัพกลับ

– พ.ศ. ๒๓๒๕ อาณาประชาราษฏร์ กราบทูลเชิญขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อ ๖ เมษายน ๒๓๒๕ อยู่ในราชสมบัติ ๒๗ ปี เสด็จสวรรคต ๗ กันยายน ๒๓๕๒ รวมพระชนมายุ ๗๓ พรรษา ครองราชย์ นาน ๒๘ ปี มีโอรสธิดารวม ๔๒ พระองค์

**************************

Add Comment